วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำยาล้างเล็บ

 ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำยาล้างเล็บคือ อะซีโตน หรือ Acetone โดย อะซีโตนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ ที่ไม่มีสี มีความเป็นพิษต่ำ ระเหยง่าย จึงมักถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมและใช้ในงานด้านเภสัชกรรม  โดยอะซีโตนที่มีความเข้มข้นมากกว่า 80%  มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) นอกจากนี้ อะซีโตนยังถูกสร้างขึ้นจากขนวนการเมตาโบลิซึมในร่างกาย โดยเป็นหนึ่งใน  Ketone bodies  ซึ่งพบในเลือด  เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (ketoacidosis)  จากภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (diabetic acidosis) หรือภาวะเลือดเป็นกรดจากการอดอาหาร (starvation acidosis) ซึ่งถ้ามีอะซีโตนในเลือดในปริมาณมาก จะสามารถได้กลิ่นอะซีโตนจากลมหายใจของ ผู้ป่วย
            แต่เนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการกวดขันเรื่องการใช้ยาเสพติดที่เป็นสารระเหย เช่น  กาว  ทินเนอร์ แลคเกอร์ มากขึ้น ทำให้วัยรุ่นที่ติดสารระเหยหันมาใช้ยาทาเล็บ และน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งมีอะซีโตนเป็นองค์ประกอบหลัก หยดใส่สำลีหรือทามือแล้วสูดดมแทน เนื่องจากยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บหาซื้อได้ง่ายกว่า และมีความเสี่ยงต่อการถูกจับกุม   และดำเนินคดียากกว่าการดมกาว หรือ ทินเนอร์  นอกจากนี้การสูดดมอะซีโตนในความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทและ เกิดการเสพติดได้แช่นเดียวกับสารระเหยทั่วไป
ชื่อสารเคมี : อะซีโตน  Acetone
ชื่อพ้อง :  2-Propanone, beta-Ketopropane, Dimethyl ketone, Methyl Ketone, Aceton, Chevron acetone, Dimethylformaldehyde, Dimethylketal,  Ketone, dimethyl  ketone propane, Pyroacetic acid และ Pyroacetic ether

สูตรโครงสร้างทางเคมี  


  C3H6O
  MW 58.08
 Log P = 0.2

NFPA Label Key


 กลไกการออกฤทธิ์
            อะซีโตนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์มีความเป็นขั้วสูงและมีพิษต่ำ สามารถล้างสีทาเล็บ Route of Exposure และการเกิดพิษ
            อะซีโตนสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางผิวหนัง  การสูดดมและการกิน โดยอะซีโตนสามารถแพร่กระจายสู่ส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว  อะซีโตนจะถูกทำลายที่ตับและถูกกำจัดออกทางลมหายใจและปัสสาวะ โดยไม่มีการสะสมของสารในร่างกาย โดยปริมาณอะซีโตนในเลือดที่ทำให้พิษคือ 200 - 300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรของเลือด  และถ้าได้รับอะซีโตนในปริมาณ 550 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรของเลือดจะทำให้เสียชีวิต
            เมื่อรับประทาน อะซีโตนจะทำให้เกิดการระคายเคืองเฉพาะที่ของเยื่อบุทางเดินอาหาร  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้   อาเจียน  นอกจากนี้ อะซีโตนยังถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหาร  และเยื่อบุทางเดินอาหาร  เข้าสู่กระแสเลือด  และทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทตามมา  การรับประทานอะซีโตนในปริมาณที่มากกว่า  50  มิลลิลิตร  (39.6 กรัม).  จะทำให้เกิดพิษของอะซีโตนอย่างเฉียบพลัน (Acute toxic effects)  ซึ่งทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท คล้ายกับการรับประทานเหล้า/เอธานอล ได้แก่ เดินโซเซ (ataxia)  ง่วงซึม (sedation) หมดสติ โคม่า และระบบทางเดินหายใจถูกกด (respiratory depression)   แต่อาการทางระบบประสาทที่เกิดจากการรับประทานอะซีโตน   จะเกิดขึ้นรวดเร็วกว่า การรับประทานเหล้า  นอกจากอาการดังกล่าวยังมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียนและ hematemesis  ภาวะระดับน้ำตาล   และคีโตนในเลือดสูง   ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)   และตับ และไตถูกทำลาย (hepatic and renal damage)  แต่ถ้าคนที่มีน้ำหนัก 67.5 กิโลกรัม  จะเสียชีวิตถ้าได้รับอะซีโตนในปริมาณที่มากกว่า 100  มิลลิลิตร (79.1 กรัม)   การรับประทานอะซีโตนไม่ทำให้เกิดพิษของอะซีโตนอย่างเรื้อรัง (Chronic toxic effects)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
            ควรให้กินน้ำหรือนมมากๆ
            เมื่อสัมผัสอะซีโตน ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้  และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่ถ้าเป็นการสัมผัสกับอะซีโตนต่อเนื่องเป็นเวลานาน   จะทำให้ผิวแห้ง  และเกิดการอักเสบของผิวตามมาเนื่องจาก  อะซีโตน  เป็นสารที่สามารถละลายไขมัน (defatting agent)   ถ้าอะซีโตนเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
            การสูดดมอะซีโตน  จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา    เยื่อบุจมูก   และเยื่อบุทางเดินหายใจ   และทำให้เกิดการกดของระบบประสาท เช่นเดียวกับสารระเหย โดยการกดประสาทของอะซีโตนมีหลายระดับ ตั้งแต่การเปลี่ยนพฤติกรรมจนถึงการเสพติด ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณอะซีโตนที่ได้รับโดยถ้าได้รับในปริมาณไม่เกิน  237 ส่วนต่อล้านส่วน (574 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) เป็นเวลา 4 ชั่วโมง  จะให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น ตื่นเต้น หงุดหงิด และ hostility  ถ้าได้รับในปริมาณมากถึง 250 ส่วนต่อล้านส่วน (605 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) เป็นเวลา 5.25 ชั่วโมง  ระบบประสาทจะถูกกดมากขึ้นและทำให้เกิดอาการหมดแรงอ่อนเพลียและปวดศีรษะ  ถ้าได้รับในปริมาณตั้งแต่ ส่วนต่อล้านส่วน (1210 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) ขึ้นไป เป็นเวลา  6 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ  และถ้าได้รับอะซีโตน ในปริมาณที่สูงมากหรือมากกว่า > 29 กรัมต่อลูกบากศก์เมตรจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ มึนงง สับสน และหมดสติ
            ถึงอย่างไรก็ตาม   อะซีโตนไม่ใช่สารก่อเกิดมะเร็ง  และไม่เหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ (teratogenic activity)
อาการแสดงและการวินิจฉัย
            อาการแสดงของการเกิดพิษ    ขึ้นกับลักษณะการได้รับอะซีโตนเข้าสู่ร่างกาย    ปริมาณของอะซีโตนที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับ

การเก็บรักษา
            เก็บให้พ้นมือเด็ก และไม่ควรเก็บใกล้ไฟ

บรรณานุกรม
http://risk.lsd.ornl.gov/tox/profiles/acetone.shtml
http://www.headlice.org/lindane/chemicals/acetone.htm
http://www.bu.edu/es/labsafety/ESMSDSs/MSAcetone.html
http://www.raklukefamilygroup.com/

ที่มา : http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/bath-room/acetone.html
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น